วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วันชาติอเมริกา

ย้อนรำลึกคำประกาศอิสรภาพ “ขอให้เสรีภาพจงมีแด่คนทุกคนที่อาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินนี้” คือข้อความที่ปรากฏอยู่บนระฆังเสรีภาพ …


กลางคริสต์ทศวรรษ 1700 ชาวอาณานิคมทั้ง 13 แห่ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอังกฤษในโลกใหม่ เริ่มพบว่า การอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์ที่อยู่อีกฟากหนึ่งของมหาสมุทร แอตแลนติกห่างออกไป 3,000 ไมล์ เริ่มไม่ใช่เรื่องง่ายเสียแล้ว เพราะคนเหล่านี้เบื่อหน่ายที่ต้องถูกเรียกเก็บภาษี แต่อิสรภาพเป็นกระบวนการที่ค่อยเป็นค่อยไป และยากลำบาก ชาวอาณานิคม ไม่อาจลืมได้ว่าพวกเขายังเป็น พลเมืองอังกฤษอยู่ และต้อง สวามิภักดิ์ต่อกษัตริย์จอร์จที่ 3
  
ในปี พ.ศ. 2313 บริษัทชาแห่งหนึ่งในอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษประสบปัญหาขาดทุน เพื่อรักษาบริษัทเอาไว้ อังกฤษได้เรียกเก็บภาษีใบชาที่จำหน่ายในอาณานิคม แซมวล อาดัมส์ แต่ชาวบอสตันจำนวนหนึ่งเล่นตลกโดยแต่งตัวเป็นอินเดียนและโยนหีบใบชาทิ้งลงในอ่าวแมสซาชู เซตส์ แต่กษัตริย์จอร์จที่ 3 ไม่ทรงคิดว่าการกระทำดังกล่าวเป็นเรื่องขบขัน และไม่ทรงยกเว้นภาษีใบชาให้
  
ต่อมาในปี พ.ศ. 2316 ที่ท่าเรือบอสตัน ทหารอังกฤษถูกโห่และถูกขว้างก้อนหินใส่โดยชาวอาณานิคมที่คิดว่าทหารเหล่านี้ถูกส่งมาคอยจับตาดูพวกเขา ทหารยิงปืนใส่กลุ่มคนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2-3 ราย แต่ชาวอาณานิคมรายงานยอดผู้เสียชีวิตเกินความเป็นจริง และเรียกเหตุการณ์ครั้งนี้ว่า “การสังหารหมู่ ทั้งนี้เหตุการณ์ “Tea Party” และ “การสังหารหมู่” ถือเป็น 2 เหตุการณ์ ที่เร่งให้กระบวนการประกาศอิสรภาพเป็นไปเร็วขึ้น
  
ด้านเวอร์จิเนีย ได้เริ่มดำเนินการก้าวแรกสู่การประกาศอิสรภาพด้วยการลงคะแนนเสียงให้มีการจัดตั้งสภาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวแทนรัฐอาณานิคมต่าง ๆ สภาแห่งภาคพื้นทวีป (Con tinental Congress) ชุดแรกนี้ประชุมกันครั้งแรกในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2317 และระบุข้อข้องใจของตนที่มีต่อกษัตริย์ ซึ่งเอกสารฉบับนี้เอง กลายเป็นร่างฉบับแรกที่ประกาศให้อาณานิคมเป็นอิสระจากอังกฤษ โดยมี จอร์จ วอชิงตัน เป็นผู้บัญชาการกองทัพฝ่ายอาณานิคม และเริ่มรบกับทหารอังกฤษที่รัฐแมสซาชูเซตส์ นับเป็นเวลา 8 ปี ที่ชาวอาณานิคมได้ต่อสู้ในสงครามปฏิวัตินี้
  
ระหว่างนั้น สงคราม   วาทะได้เกิดขึ้นในเมืองฟิลาเดล เฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย ในวันที่   2 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 สภาแห่งภาคพื้นทวีป ได้เสนอร่างฉบับที่ 2 ซึ่งระบุข้อข้องใจต่าง ๆ ที่ชาวอาณานิคมมีต่อกษัตริย์ โดยมี จอห์น แฮนค็อก ประธานสภาแห่งภาคพื้นทวีปชุดที่ 2 เป็นคนแรกที่ลงนามในร่างฉบับนี้ เอกสาร ดังกล่าวเรียกว่า คำประกาศอิสรภาพ ซึ่งถือเป็นการกบฏต่อกษัตริย์อังกฤษ โดยชายทั้ง 56 คน ที่ลงนามในเอกสารฉบับนี้กำลังเสี่ยงต่อการถูกประหารชีวิต
  
เหตุที่วันชาติของสหรัฐอเมริกาตรงกับวันที่ 4 กรกฎาคม นั้น เนื่องจากวันดังกล่าวเป็นวันที่สภาแห่งภาคพื้นทวีปเห็นชอบร่างคำประกาศอิสรภาพ โดยระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2319 จนถึงเดือนถัดไป จะมีการอ่านเอกสารฉบับนี้ในที่สาธารณะ โดยประชาชนจะมีการเฉลิมฉลองกันเมื่อได้ยินการอ่านเอกสารนี้ ในปีถัดไป ที่เมืองฟิลาเดลเฟีย ผู้คนตีระฆังและเรือมีการยิงสลุต มีการจุดเทียนและประทัดกันทั่วไป แต่สงครามยังยืดเยื้อต่อไปจนถึงปี พ.ศ. 2326 และในปีนั้นเอง ได้มีการกำหนดวันประกาศอิสรภาพให้เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย
  
นับจากวันนั้น วันที่ 4 กรกฎาคม ของทุกปี จึงถือเป็นวันหยุดของชาวอเมริกัน เป็นวันประกาศอิสรภาพของอเมริกา ผู้คนจะนำอาหารที่ตนชอบ เช่น ฮอตดอก แฮมเบอร์เกอร์ สลัดมันฝรั่ง ถั่วอบ และเครื่องเคียงต่าง ๆ ไปรับประทานกันกลางแจ้ง แต่การเฉลิมฉลองในช่วงบ่ายจะสมบูรณ์ไม่ได้ถ้าขาดดนตรีที่สนุกสนาน การแข่งเบสบอล การแข่งวิ่งสามขา และการแข่งกินขนมพายหรือแตงโม ในบางเมืองจะมีบางคนที่แต่งกายแบบโบราณในชุดของบิดาผู้ก่อตั้งประเทศและเดินพาเหรดตามจังหวะดนตรีที่บรรเลงโดยวงโยธวาทิตของโรงเรียนมัธยมปลาย ในช่วงค่ำ ชาวเมืองจะออกมาชุมนุมกันเพื่อชมดอกไม้ไฟ ไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลก ชาวอเมริกันจะออกมาชุมนุมกันเพื่อฉลองวันชาติตามประเพณี  
  
การอ่านคำประกาศอิสรภาพนั้น เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกที่เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิล  เวเนีย ซึ่งปัจจุบัน เทศกาลอิสรภาพ (Freedom Festival)  จะจัดขึ้นที่ หอแห่งอิสรภาพ (Independence Hall) โดยชาวอเมริกันจะแต่งกายด้วย  เสื้อผ้าแบบโบราณแสดงฉากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์   และอ่านคำประกาศอิสรภาพให้ประชาชนฟัง
   
ในขณะที่เมืองแฟล็ก สแตฟฟ์ รัฐแอริโซนา ชาวอเมริกันอินเดียนจะจัดงานกัน 3 วัน ประกอบไปด้วย การโชว์ขี่ม้า พยศและการเต้นรำ ส่วนที่สวนสาธารณะในเมืองลิทิตซ์ รัฐเพน ซิลเวเนีย ในตอนกลางคืนจะมีการนำเทียนหลายร้อยเล่มที่หล่อขึ้นในปีนั้นมาจุดและลอยไปตาม  ลำน้ำในขณะที่มีการคัดเลือก    “ราชินีแห่งเทียน” (Queen of Candles)
  
รวมทั้งที่ เรือยูเอสเอส จอห์น เอฟ. เคนเนดี (USS John F. Kennedy) จะกางใบเต็มที่แล่นเข้าเทียบท่าเรือบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ในวันที่ 4 กรกฎาคม อีกทั้ง วงบอสตันป๊อปส์ออร์เคสตรา (Boston Pops Orchestra) จะบรรเลงเพลงปลุกใจรักชาติ ในขณะที่คนกว่า 150,000 คน พากันมาชมดอกไม้ไฟในท้องฟ้าเหนือท้องน้ำ 
  
ในปี พ.ศ. 2319 จอห์น อดัมส์ บรรพบุรุษผู้สร้างประเทศ อเมริกาท่านหนึ่งกล่าวว่า “รัฐบาลจัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ดีงามของทุกคน คือ เพื่อให้ความคุ้มครอง ความปลอดภัย ความเจริญรุ่งเรืองและความผาสุกแก่ประชาชน มิใช่เพื่อกำไร เกียรติยศหรือผลประโยชน์ส่วนตนของบุคคล ครอบครัวหรือชนชั้นใดโดยเฉพาะ”
  
ในปีนี้ ปรัชญาของบรรพชนเป็นจริงขึ้นมาเมื่อ บารัค โอบามา ได้รับเลือกตั้งเป็นประธา นาธิบดีคนที่ 44 ของสหรัฐอเมริกา การส่งมอบอำนาจอย่างสันติจากประธานาธิบดีคนหนึ่งแก่ประธานาธิบดีอีกคนหนึ่งเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยแบบอเมริกันที่สำคัญยิ่ง และวุฒิสมาชิกจอห์น แมคเคน ได้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงอุดมคติดังกล่าวเมื่อท่านยอมรับความพ่ายแพ้และกล่าวให้การสนับสนุน   คู่แข่งในสุนทรพจน์ยอมรับความปราชัยว่า…
  
“ท่านวุฒิสมาชิกโอบามาและผมมีความคิดเห็นแตกต่างกันและเราได้โต้เถียงกัน แต่ท่านประสบชัยชนะ…ไม่ว่าเราจะคิดเห็นต่างกันในเรื่องใด เราทั้งสองต่างเป็นคนอเมริกันร่วมชาติกัน”.

สารจาก ฯพณฯ อีริค จี. จอห์น
เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
เนื่องในโอกาสวันประกาศอิสรภาพ
ของสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2552

บ่ายวันที่ 4 กรกฎาคม ของปี พ.ศ. 2319 ขณะที่ผู้แทนจากอาณานิคมอเมริกันทั้ง 13 แห่งร่วมกันเปลี่ยนเส้นทางประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ด้วยการตวัดปลายปากกาเพียงไม่กี่ครั้ง บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศ อเมริกาได้ก่อกำเนิดชาติใหม่จากหลักการใหม่ที่ยึดถือว่ามนุษย์เราทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน เราทุกคนมีสิทธิพื้นฐานและเราสมควรจะอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลที่เราเป็นผู้เลือกและรัฐบาลนั้นจะต้องถือความเห็นชอบของเราเป็นสำคัญ
  
บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งประเทศของเราต้องยึดมั่นในอุดมการณ์อย่างแน่วแน่และใช้วาทศิลป์เกลี้ยกล่อมให้ทั้ง 13 อาณานิคม รวมตัวกันภายใต้พันธกรณีที่จะมีเอกราชในการปกครองตนเองโดยใช้แนวทางประชาธิปไตยตลอดจนสิทธิในชีวิต เสรีภาพและการแสวงหาให้ได้มาซึ่งความสุข ความพากเพียรของท่านเหล่านั้นนำไปสู่วาระสำคัญในประวัติศาสตร์ที่เรากำลังเฉลิมฉลองอยู่ในขณะนี้ ซึ่งคือ การลงนามในคำประกาศอิสรภาพ
  
จิตวิญญาณทางการเมืองที่จุดประกายการลงนามในคำประกาศอิสรภาพเมื่อ 233 ปีที่แล้ว คือ ส่วนสำคัญของระบอบประชาธิปไตยของอเมริกาในปัจจุบัน ความเป็นประชาธิปไตยมิใช่เรื่องง่ายและสำหรับสหรัฐอเมริกา พัฒนาการและเอกภาพแห่งความเป็นชาติเดียวกันมาจากการต่อสู้อย่างไม่ย่อท้อในแต่ละวันเพื่อบัญญัติกฎหมายที่ดี สร้างสถาบันประชาธิปไตย แก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและกระจายอำนาจอย่างเที่ยงธรรม ผลจากความพยายามนี้สามารถประจักษ์ได้ในยุคนี้จากการเลือกตั้งประธานาธิบดีบารัค โอบามา แม้จะมีความเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองที่เหมือนจะสร้างความสับสนให้แก่สังคมอเมริกา แต่กระนั้นในที่สุด ประธานาธิบดีคนหนึ่งที่ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 8 ปีก็ส่งมอบอำนาจต่อให้แก่ประธานาธิบดีคนใหม่อย่างสันติ โดยประธานาธิบดีคนใหม่นี้คือตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงอุดมคติที่ว่า “มนุษย์เราทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน”
  
วันที่ 4 กรกฎาคมไม่เป็นเพียงวันที่คนอเมริกันจะฉลองการก่อตั้งประเทศของตนเท่านั้น แต่เป็นวาระที่คนอเมริกันแสดงความคารวะต่อความเป็นเอกราชและเสรีภาพของประเทศไทยเช่นกัน ประเทศของเราทั้งสองได้ลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรีและพาณิชย์เมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2376 สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นสนธิสัญญาฉบับแรกที่สหรัฐ ลงนามกับประเทศ   ในเอเชีย ทำให้ประเทศไทยเป็นมิตรที่เก่าแก่ที่สุดของสหรัฐ  ในเอเชีย
  
ความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงและด้านการบังคับใช้กฎหมายซึ่งดำเนินไปด้วยดีหลายทศวรรษเป็นที่ประจักษ์ชัดโดยทั่วไป มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเราทั้งสองสูงกว่าสามหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีและการลงทุนของสหรัฐ ในประเทศไทยมีมูลค่าสองหมื่นสามพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อปีที่ผ่านมา มีนักศึกษาไทยกว่า 9,000 คนศึกษาในมหาวิทยาลัยอเมริกัน และมีนักศึกษาอเมริกันเข้ามาศึกษาในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี นักวิจัยด้านการแพทย์ชาวไทยและอเมริกันทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กันในการช่วยชีวิตผู้ป่วยทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก โดยความร่วมมือของเรานี้ได้นำไปสู่การค้นพบวิธีการต่อสู้กับโรคมาลาเรียและประสบความก้าวหน้าในการรับมือกับการระบาดของเชื้อเอชไอวี ประเทศของเราทั้งสองมีความร่วมมือกันหลายด้านและมิตรภาพของเราก็ลึกซึ้งยิ่งนัก
  
ผมขออวยพรให้พี่น้องอเมริกันร่วมชาติและมิตรชาวไทยทุกคนมีความสุขและสนุกสนานในวันประกาศอิสรภาพของอเมริกานี้ ผมหวังใจเป็นอย่างยิ่งที่จะเห็นประเทศของเราทั้งสองร่วมงานฉลองกันอีกหลายปีต่อไปในอนาคต…


(จาก นสพ. เดลินิวส์)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น